วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)

ความหมายของสตอรี่บอร์ด (Story Board)
สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
• Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว
• รายละเอียดที่ควรมีใน Storyboard ได้แก่ คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช้ (ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิโอ)
หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด
          รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบต่างๆ

สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย
- ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
- มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
- เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร  มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร

ข้อดีของการทำ Story Board
1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ
4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด (สำคัญสุด!)
ขั้นตอนการทำ Story Board
1.วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme, ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ
    1.1  แนวเรื่อง
    1.2  ฉาก
    1.3  เนื้อเรื่องย่อ
    1.4  Theme/แก่น (ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)
    1.5  ตัวละคร  สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกิน ไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที
 2.  ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ
จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา
3. กำหนดหน้า
4. แต่งบท
            เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม
5. ลงมือเขียน Story Board

ที่มาซ https://sites.google.com/site/pathumwilairoom1/kar-kheiyn-s-tx-ri-bxrd-storyboard

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโอ


                ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้านมัลติมีเดียที่ทำให้การนำเสนองานของเราน่าสนใจแล้วราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้
ประโยชน์ของงานวิดีโอ
                1.  แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
                2.  บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
                3.  การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอโดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT   เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
                4.  การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
                5.  วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
                ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำวิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์ ในการทำงานวิดีโอ สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่กับความประณีต และความคิดสร้างสรรค์
ที่มา :  www.ns.ac.th/course/ulead/1.doc

ชนิดของวิดีโอ
                วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
                1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่น) สำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
                2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น

การนำวีดีโอไปใช้งาน
                วีดีโอสามารถนำไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ลักษณะซึ่งสามารถแสดงดังต่อไปนี้
              - ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวีดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด หรือในงานเลี้ยงสังสรรต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง
                - ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สำหรับแนะนำสินค้า กิจกรรมด้านต่าง ๆ
                - ด้านงานสะสมวีดีโอ (Video Album) สามารถผลิต Video ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่เราศึกษาอยู่
              - ด้านการศึกษา (Education Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวีดีโอเทป ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียน และทางออนไลน์

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
                กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า “แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น” มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวเทปวีดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้ที่
ที่มา  http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ  ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไขภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1.  เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ   การเขียนStoryboard  คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริงในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......
2.  เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี
3.  ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4.  ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5.  แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต


รูปแบบไฟล์ภาพ
BMP (Bitmap)
     ไฟล์ภาพประเภทที่เก็บจุดของภาพแบบจุดต่อจุดตรงเรียกว่าไฟล์แบบ บิตแมพ( Bitmap ) ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเก็บแบบ Bitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บ
ภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเก็บภาพได้เช่นเดิม ขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG และ GIF

      JPEG ( Joint Graphics Expert Group )
      เป็นการเก็บไฟล์ภาพแบบที่บีบอัด สามารถทำภาพ ให้มีขนาดของไฟล์ภาพเล็กกว่าแบบ Bitmap หลายสิบเท่า แต่เหมาะจะใช้กับภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่เหมาะกับการเก็บภาพเหมือนจริง  เช่น ภาพการ์ตูน เป็นต้น

     GIF ( Graphics Interchange Format )
       เป็นวิธีการเก็บไฟล์ภาพแบบบีบอัดคล้ายกับ JPEG โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเก็บภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติได้มีขนาดเล็กเท่ากับแบบ JPEG แต่สามารถเก็บภาพที่ไม่ใช่ภาพถ่ายจากธรรมชาติเช่น ภาพการ์ตูน ได้เป็นอย่างดี นากจากนี้ GIF ยังสามารถเก็บภาพไว้ได้หลายๆภาพ ในไฟล์เดียว จึงถูกนำไปใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ เช่น ในอินเตอร์เน็ต


  
     TIFF ( Tagged Image File Format )
        คือการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะเดียวกับไฟล์แบบ BMP แต่ในไฟล์มี Tagged File ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยโปรแกรมควบคุมการแสดงภาพ เช่น การแสดงหรือไม่แสดงภาพบางส่วนได้ ภาพที่เก็บไว้ในลักษณะของ TIFF จึงมีความพิเศษกว่าการเก็บแบบอื่นที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังมีไฟล์ภาพแบบต่างๆ อีกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป มักนิยมใช่ในงานกราฟิกการพิมพ์



                ไฟล์วิดีโอที่นำมาใช้งานกับนั้นมีหลายรูปแบบ  โดยเราจะมาทำความรู้จักกับไฟล์วิดีโอแบบต่าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและตรงตามประเภทของงาน
          ไฟล์  MPEG 
           MPEG  ( Motion  Picture  Exports   Group )  เป็นมาตรฐานสำหรับการบีบอัดวิดีโอและเสียงแบบดิจิตอล   ซึ่งเป็นรูปแบบของวิดีโอที่มีคุณภาพสูงและนิยมใช้กับงานทุกประเภทโดยไฟล์ MPEGนี้ ก็ยังแยกประเภทออกไปตามคุณสมบัติต่าง ๆ  อีกด้วย   ดังนี้
MPEG -1
ถือกำเนิดขึ้นมาในปี  2535   ซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ที่เข้ารหัสมาด้วยการบีบอัดให้ได้ไฟล์ที่มี
ขนาดเล็ก  เพื่อสำหรับการสร้างวิดีโอแบบ  VCD โดยจะมีการบีบอัดข้อมูลสูง   มีค่าบิตเรตอยู่ที่  1.5  Mb/s  ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับเทปวิดีโอ
MPEG -2
ถือกำเนิดขึ้นในปี 2538  ซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ที่เข้ารหัสมาเพื่อการสร้างภาพยนตร์โดยเฉพาะ โดยสามารถสร้างเป็น  SVCD  หรือ   DVD ก็ได้   ซึ่งอัตราการบีบอัดข้อมูลจะน้อยกว่า MPEG-1  ไฟล์ที่ได้จึงมีขนาดใหญ่กว่าและได้คุณภาพสูงกว่าด้วย  อีกทั้งค่าบิตเรตก็ไม่ตายตัว  ทำให้สามารถกำหนดอัตราการบีบอัดข้อมูลได้เอง
MPEG -4
เป็นรูปแบบของไฟล์แบบใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในเดือนตุลาคม  2541   จากความร่วมมือกันของ
วิศวกรทั่วโลกและได้เป็นมาตรฐานของนานาชาติเมื่อปี  2542  ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวงการดิจิตอลวิดีโอ  เพราะมีรูปแบบการบีบอัดที่ดีกว่า    MPEG-1   และ   MPEG-2   โดยไฟล์ประเภทนี้จะมีคุณภาพของวิดีโอสูง  สามารถสร้างรหัสภาพวิดีโอได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานอยู่  3 ประเภท  คือ  ระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอล   งานด้านแอพพลิเคชันกราฟิกและมัลติมีเดียต่างๆ  แต่ปัจจุบันยังมีสื่อที่รองรับไฟล์ประเภทนี้อยู่น้อย   จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

 ฟล์ประเภทอื่นๆ
MOV
( Quick Time  Movie )
เป็นไฟล์สำหรับโปรแกรม  QuickTime  จากบริษัท Apple  ซึ่งนิยมใช้สำหรับเครื่องแมคอินทอช   แต่เครื่องพีซีก็สามารถใช้ได้   โดยจะต้องมีโปรแกรม QuickTime   เพื่อใช้เปิดไฟล์   โดยไฟล์ประเภทนี้จะมีคุณภาพสูงและประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ มากมาย
VOB
เป็นรูปแบบของไฟล์ประเภท  DVD – Video  ที่มีคุณภาพสูงทั้งด้านภาพและเสียง   สามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นดีวีดีหรือไดรฟ์ดีวีดีจากเครื่องคอมพิวเตอร์
DAT
เป็นรูปแบบของไฟล์ประเภท  Video  CD  ที่มีความละเอียดต่ำกว่าไฟล์ประเภทดีวีดี    โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG-1  คุณภาพของวิดีโอก็พอ ๆ กับเทป  VHS  สามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไป หรือเล่นได้จากคอมพิวเตอร์
AVI
( Audio – Video Interleave )
เป็นมาตรฐานไฟล์วิดีโอที่เริ่มมีมาพร้อมกับ  Windows 3.11  พัฒนาโดย ไมโครซอฟต์   ซึ่งมีความละเอียดสูงเหมาะกับการใช้งานในการตัดต่อวิดีโอ  แต่ไม่นิยมใช้ในการส่งสัญญาณหรือโอนย้ายไปยังปลายทางอื่นๆ  เพราะไฟล์มีขนาดใหญ่
WMV
( Windows  Media  Video )
เป็นไฟล์วิดีโอของไมโครซอฟต์อีกเช่นกัน    ถือกำเนิดขึ้นมาจากเทคโนโลยีของ   Microsoft  Windows  Media  ซึ่งสามารถสร้างขึ้นมาได้จากโปรแกรม Microsoft  Movie  Maker  โดยไฟล์ประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมทางอินเตอร์เน็ต  เช่น  การชมวิดีโอแบบ Movie on Demand 
 เพราะด้วยขนาดไฟล์ที่เล็กและมีคุณภาพดี
   ทำให้สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้รวดเร็ว

รูปแบบของไฟล์เสียงชนิดต่าง ๆ
ในการบันทึกเสียงในระบบ  Hard disk  Recording  จะมีรูปแบบของการเก็บข้อมูลเสียงมากมาย และแต่ละรูปแบบก็สามารถเปลี่ยนไปมากันได้ บางรูปแบบที่มีการบีบอัด เมื่อเปลี่ยนกับมาเป็นรูปแบบที่ไม่มีการบีบอัดก็จะได้คุณภาพเสียงเหมือนที่บีบอัดไปแล้ว เพราะมีการสูญเสียคุณภาพสัญญาณไปในขั้นตอนของการบีบอัดไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้โปรแกรมดนตรีมักจะเก็บข้อมูลเสียงดังนี้
AIFF ย่อมาจาก  Audio Interchange File Format เป็นรูปแบบที่ใช้กันมากกับโปรแกรมบน Mac เพราะ Apple เป็นผู้ริเริ่ม เป็นได้ทั้ง Mono และ Stereo ความละเอียดเริ่มต้นที่ 8 Bit/22 kHz ไปจนถึง 24 bit/ 96 kHz และมากกว่านั้น
MP3 เป็นรูปแบบที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน ในฐานะที่คุณภาพเสียงที่ดีในขณะที่ข้อมูลน้อยมาก ประมาณ 1 MB ต่อ เพลงความยาว 1 นาทีแบบ Stereo ซึ่งเป็นการบีบอัดโดยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเสียง และตัดเสียงที่หูของมนุษย์ไม่สามารถได้ยินโดยอ้างอิงจากงานวิจัย Psychoacoustic   แต่ไม่สามารถให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเสียงแบบ Full Bandwidth หรือ Hi-fi ได้ เพราะมันเป็นการบีบอัดที่สูญเสียหรือเรียกว่า “Lossy Technology” ถึงแม้ว่าเจ้าของค่ายเพลงในเมืองไทยหรือทั่วโลกไม่ชอบมัน แต่ในเมื่อมันคุ้มค่าสำหรับเก็บไว้ฟังหรือส่งต่องานให้เพื่อน โปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่ก็ให้เราสามารถ import /export งานเป็น MP3 ได้

          ในปัจจุบันนี้มีระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่นิยมใช้ในแถบภูมิภาคต่างๆ คือ
       1.  ระบบ NTSC (National Televion Standards Committee) เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปีค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตอริโก้ และเม็กซิโก เป็นต้น
       2.ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ NTSC ทำให้มีการเพี้ยนของสีน้อยลง เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 ในประเทศทางแถบยุโรป คือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน   สวิตเซอร์แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
       3. ระบบ SECAM (SEQuentiel A Memoire("memory sequential") เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก  ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย เป็นต้น